ก๊าซกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

ข้อถกเถียงประเด็นพลังงานธรรมชาติของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซหรือน้ำมัน มีความสับสนและบิดเบือนข้อมูลอันเกิดจากเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ในที่สุดแล้วจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศในอนาคตอย่างรุนแรง

กระทั่ง อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตั้งแต่ ยารักษาโรค อุปกรณ์ เทคโนโลยี ยานยนต์ เครื่องบิน ถ้วย ชาม กะละมัง แก้วน้ำ รองเท้า เสื้อผ้า ยาสีฟัน สีทาบ้าน ยางเทียม เส้นใยสังเคราะห์ ไม้จิ้มฟันยัน เรือรบ ล้วนแต่ต้องอาศัยวัตถุดิบจาก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทั้งสิ้น

และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเหล่านี้ ก็คือส่วนหนึ่งของผลผลิตจาก ก๊าซและน้ำมัน โดยการคัดแยกและนำมาผสมกับสารเคมี เพื่อนำไปใช้กับอุตสาหกรรมประเภทต่างๆดังกล่าว แรกเริ่มเดิมทีเราต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกที่นำมาใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมเกือบทุกอุตสาหกรรม บริษัท ยูโนแคล ผู้สำรวจและผลิตปิโตรเลียมในขณะนั้น ซึ่งต่อมาขายกิจการให้กับ เชฟรอน บริษัทที่ได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตน้ำมันในอ่าวไทย สำรวจพบก๊าซในอ่าวไทย เมื่อปี 2514 ซึ่งเป็นปีทองของประเทศไทย ยุคโชติช่วงชัชวาลย์ มีการ วางแผนที่จะสร้างโรงแยกก๊าซขึ้นมาต่อยอดด้วยอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อลดการนำเข้าวัตถุดิบที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

จนกระทั่งปี 2528 สมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้มอบให้ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ ปตท.ลงทุน สร้างโรงแยกก๊าซขึ้นมาที่ จ.ระยอง ตั้งโรงงานปิโตรเคมีต้นน้ำ ร่วมกับภาคเอกชน ภายใต้ชื่อ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ปรากฏว่า ก๊าซที่พบในอ่าวไทยเป็นชนิดเปียก มีสารไฮโดรคาร์บอน ที่เหมาะใช้งานในโรงงานปิโตรเคมี เป็นโชคสองชั้นของ
คนไทย ก๊าซที่แยกออกมามีคุณภาพที่จะนำไปใช้ทั้งโรงผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้งานภาคครัวเรือนและการขนส่งสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยประมาณ 1.3 แสนล้านบาทต่อปี เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆราว 2.3 แสนคน เพิ่มมูลค่าสินค้าภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นมูลค่า 8-9 แสนล้านบาท ต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ลดการนำเข้าวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมอีกเป็นจำนวนไม่น้อย

วันนี้ ที่สังคมเกิดข้อขัดแย้งถกเถียงถึง การปฏิรูปพลังงานของประเทศ โดยขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ได้ ยึดหลักการใช้พลังงานธรรมชาติของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องการของดี ของถูกอย่างเดียว แล้วในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะพลังงานมีจำกัด ใช้แล้วหมดไป

การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย สูญเปล่า คือการทำร้ายอนาคตของลูกหลานอย่างไม่รู้ตัว จึงต้องจำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรพลังงานธรรมชาติของเราให้สมดุล ไม่ใช่คิดแค่ว่า ปตท.จะได้ประโยชน์ จะต้อง ใช้ของถูกของฟรี

การส่งเสริมประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิต

การที่จะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ธุรกิจ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและโดยเฉพาะภาคเอกชนที่ต้องมีการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร ดังเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของภาคเอกชนเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการสะท้อนปัญหา ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆต่อภาครัฐ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการกระจายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมโดยภาพรวมจะขยายตัวดีขึ้นจากการเติบโตเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการส่งออก ส่วนอุตสาหกรรมที่ขึ้นกับกำลังซื้อภายในประเทศจะมีการชะลอตัวลง

ประเทศไทยเปิดกว้างทั้งทางความคิดและศาสนา เศรษฐกิจที่เติบโตมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การส่งออกที่แข็งแกร่ง และตลาดผู้บริโภคภายในประเทศที่ตื่นตัว นอกจากนี้ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ประกอบกับแรงงานที่มีฝีมือและประสิทธิภาพยังช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ทั้งยังเสริมสร้างความมั่งคั่งให้ธุรกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ โดยนโยบายการลงทุนของประเทศไทยมีความชัดเจนโดยมุ่งเน้นการเปิดเสรีและส่งเสริมการค้าเสรี โดยรัฐบาลได้ร่วมส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างจริงจัง เนื่องจากอุตสาหกรรมไทยเริ่มให้ความสำคัญเรื่องการเพิ่มมูลค่าผลผลิต อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมไทยยังมีข้อจำกัดในด้านที่ต้องพึ่งพิงเศรษฐกิจภายนอกประเทศ เช่น การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมทั้งปัจจัยทุน องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้อุตสาหกรรมไทยยังมีข้อจำกัดพื้นที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและข้อกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการเข้มงวดมากขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลภาคอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิต สนับสนุนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการสร้างคุณค่าสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทางในการฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะ มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้ โดยส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างและพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ส่งเสริมการยกระดับองค์ความรู้และทักษะผู้ประกอบการ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม

เข็มทิศสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้อุตสาหกรรมจะพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการเกื้อหนุนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งถ้ามองในแง่ของเศรษฐศาสตร์ก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ในอีกด้านหนึ่ง อุตสาหกรรมก็ยังถูกท้าทายจากคำถามสำคัญ 2 ประการ คำถามแรกคือ ในอนาคตจะยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอสำหรับการผลิตหรือแปรรูปทาง อุตสาหกรรมหรือไม่ ?

เพราะความเป็นจริงในปัจจุบันนี้บ่งบอกแก่เราว่า ทรัพยากรธรรมชาติหลาย ๆ อย่างกำลังร่อยหรอลง ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ สินแร่ เชื้อเพลิง หรือว่าพลังงาน แน่นอนว่า ถ้าไม่มีวัตถุดิบป้อนสู่ระบบ อุตสาหกรรมก็จะดำเนินต่อไปไม่ได้ ส่วนคำถามที่สองซึ่งกำลังเป็นคำถามที่ถูกนำมาขบคิดพิจารณาอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน นั่นคือคำถามที่ว่า อุตสาหกรรมจะจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นอย่างไร ? เพราะเท่าที่ผ่านมา การพัฒนาทางอุตสาหกรรมถูกมองว่าเป็นตัวการสำคัญของปัญหามลภาวะ

เมื่ออุตสาหกรรมขยายตัว มีการผลิตมากขึ้นและเร็วขึ้น สิ่งที่จะตามมาก็คือกากของเสียทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มพูนมากขึ้นและมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ก็มักมาพร้อมกากของเสียชนิดใหม่ที่ยากแก่การแก้ไขหรือบำบัด ซึ่งถ้าหากอุตสาหกรรมยังคงพัฒนาไปตามวิถีดั้งเดิม วิกฤติการทางอุตสาหกรรมก็จะเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น ทุกวันนี้หลายฝ่ายจึงพยายามมองหาหนทางการพัฒนารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งหมายถึงการพัฒนาที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คน ทั้งผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันและผู้คนในรุ่นถัด ๆ ไป ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องอาศัยทั้งหลักทฤษฎีและหลัก ปฏิบัติที่ชัดเจน

เพื่อให้ทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปอ้างอิงเพื่อการตัดสินใจและสามารถปฏิบัติไปใน ทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาก็ได้มีการเสนอหลักคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างหลากหลาย แต่มีแนวทฤษฎีใหม่อย่างหนึ่งที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดได้แก่ แนวทฤษฎีนิเวศอุตสาหกรรมของ Frosch และ Gallopoulos

ดังนั้น ถ้าสามารถปรับการใช้วัสดุและพลังงานในระบบอุตสาหกรรมให้เป็นเหมือนระบบนิเวศ ของสิ่งมีชีวิต โดยทำให้ผลิตผลและของเสียจากหน่วยการผลิตหนึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับหน่วยการ ผลิตอีกหน่วยหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นหลั่น (Material Cascading) และทำให้การไหลของวัสดุและพลังงานเป็นวงจรปิดมากที่สุด ก็จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรในระบบอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบอุตสาหกรรมก็จะสมดุลและยืนขึ้นเช่นกัน

ทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในการเตรียมพร้อมรับมือการเปิดตลาดการค้าเสรี

ก้าวสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือการเปิดตลาดการค้าเสรีที่กำลังจะมาถึงในปี พ.ศ.2558 คือการให้ความรู้กับทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้พร้อมสำหรับการแข่งขันบนเวทีสากล โดย ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวถึง นโยบาย มาตรการของอุตสาหกรรมไทยบนเส้นทางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ในงานครบรอบ 40 ปี แห่งการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท ว่า การเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ถือเป็นการร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มุ่งเป็นตลาดเดียว ส่งผลให้การแข่งขันรุนแรงมาก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเพื่อรองรับ AEC ใน 4 ด้าน ได้แก่ การขนย้ายแรงงาน, ภาษา, การลงทุน และการบริการ

ส่วนทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย แบ่งออกเป็น 3 แผนหลัก คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10-11 ว่าด้วยเรื่องของ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ที่เน้นสร้างโอกาสและสร้างความเป็นธรรมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มากขึ้น, ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน คือหาวิธีให้คนเก่งกลับมาพัฒนาประเทศ, ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงทางอาหารและพลังงาน, ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจความรู้และสร้างปัจจัยแวดล้อม ให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ,ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการประกาศตัวเป็น HUB และเชื่อมโยงสู่ภูมิภาค ดึงความสำเร็จจากปลายน้ำกลับมาสู่ต้นน้ำ และ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นสร้างรายได้จากธุรกิจสีเขียว

สำหรับ นโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ การแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้และแก้ไขปัญหาแรงงาน, การฟื้นฟูความร่วมมือกับภูมิภาค, การส่งเสริมให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น, สนับสนุนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ยกระดับการแข่งขันในอุตสาหกรรม เช่น การเปิดคลินิกอุตสาหกรรมเพื่อช่วยเหลือโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาท, ยกระดับการเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างสร้างสรรค์, พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตร, สร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอี, กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรม, ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และเร่งรัดการหาแหล่งแร่

การพัฒนาทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อความก้าวหน้าของเศรษฐกิจของไทย

ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็น 99.8% ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ และเป็น 78.2% ของการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2552) โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สะท้อนให้เห็นว่าผลิตภาพการผลิตโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร โดยมีการขยายตัวโดยเฉลี่ยเพียง 1.1% และประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าในสัดส่วนที่สูง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559) และแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574 จึงได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุลและยั่งยืนดังนี้

ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างและพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ส่งเสริมการยกระดับองค์ความรู้และทักษะผู้ประกอบการ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลภาคอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิต สนับสนุนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการสร้างคุณค่าสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทางในการฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะ มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และนักวิจัยให้เพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการผลิต และพัฒนาบุคลากรวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่มีบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานจริงในสถานประกอบการ

ทั้งนี้ ในสภาวะที่ค่าจ้างแรงงานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ และการควบคุมในด้านสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดมากขึ้น การที่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมจะสามารถมีธุรกิจที่แข่งขันได้และมีความยั่งยืน ก็จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนด้านวิจัย และพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าสูงขึ้น ทั้งนี้ การลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้มาซึ่งบุคคลากรที่มีความชำนาญในเรื่องวิจัยและพัฒนา โดยที่ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูงนี้เป็นผลให้ภาคอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมไม่สามารถแบกภาระนี้ไว้ได้ เป็นผลให้ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ดำเนินการเรื่องเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อประสิทธิภาพ และ/หรือประสิทธิผลของการผลิตเลย ดังนั้น การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถแข่งขันและพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ภาครัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านการวิจัยและพัฒนา และการสร้างกำลังคนสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ก็มีเป้าหมายที่จะเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและนำพาประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้แบบสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่

แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

อุตสาหกรรมเชิงนิเวศถูกพัฒนามาจากนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภายในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการผลิตไปสู่กระบวนการบริโภคที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการออกแบบผลิตภัณฑ์และการแปรรูปใช้ใหม่ ซึ่งตัวอย่างของนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เช่น การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมย่อยเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กระทำโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของวัตถุดิบและพลังงาน และการปรับปรุงเชิงวิศวกรรมซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเศรษฐกิจระดับจุลภาค (Micro-scale Eco Industrial Design) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือการเพิ่มผลิผลในการใช้ทรัพยากรในวิสาหกิจหนึ่งๆ ให้สูงขึ้นเพื่อลดการเกิดของเสียเช่น การรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่

การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเศรษฐกิจระดับกลาง (Meso-scale Eco Industrial Design) เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับท้องที่ ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบของตำบล เช่น นิคมอุตสาหกรรม ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่

การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับมหภาค (Macro-scale EcoIndustrial Park) เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับภูมิภาค อย่างเช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมระดับจังหวัด โดยจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา เครือข่ายของนิคมอุตสาหกรรมในการสร้างพันธมิตรระหว่างกัน

ฉะนั้นแล้วอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ถือเป็นรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ความสอดคล้องกับกฎหมาย และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี เริ่มตั้งแต่ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานหรือการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้คุ้มค่า และลดการปลดปล่อยของเสียให้เหลือน้อยที่สุด พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งนี้ต้องผ่านการตรวจสอบโดยได้รับการยอมรับจากชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบและโดยรวม ตลอดการดำเนินงานอยู่ภายใต้หลักการความร่วมมือพึ่งพากันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ทั้งหน่วยงานรัฐท้องถิ่น และชุมชน เพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ร่วมกัน

ทั้งนี้อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ถือเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือความตระหนักในเรื่องของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าการแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่ยั่งยืน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และความตระหนักต่อการจัดการของเสียในประเทศซึ่งทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยจัดการและดูแลในเรื่องเหล่านี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากอีกทั้งปัจจุบันมีกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้นซึ่งทำให้เป็นการสร้างการยอมรับให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจและเกิดการกระจายสินค้าได้เป็นอย่างดี

 

ไทยมีศักยภาพด้านภูมิอากาศและภูมิประเทศในการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร

อุตสาหกรรมอาหาร

กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นฐานด้านการผลิตทางการเกษตรที่มั่นคงและมั่งคั่ง ทำให้มีผลผลิตที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปได้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของผู้ซื้อได้รวดเร็วและสามารถนำวัตถุดิบจากต่างประเทศมาแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่ม นอกจากนั้นผู้ประกอบการยังมีความพร้อมในด้านการจัดการกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพ มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์

ภาพรวมของการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประเทศไทยก็มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศที่อยู่กึ่งกลางภูมิภาค และมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าทุกประเทศใน AEC ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ คุณภาพของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับการยอมรับในการซื้อขายในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่อาจทำให้ไทยไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่หรือเสียโอกาส คือ ขาดความรู้และความตระหนักถึงความสำคัญ ผลกระทบ และความจำเป็นในการเตรียมความพร้อม อุปสรรคอีกประการหนึ่งคือ ต้นทุนการทำธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น

สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยจำนวนมาก เนื่องจากมีศักยภาพในด้านของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศในการเพาะปลูก ทำให้มีวัตถุดิบจำนวนมากสำหรับการนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรม จนสามารถส่งออกสินค้าอาหารได้ปีละหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมอีกจำนวนมากที่แปรรูปสินค้าเพื่อจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งมีความหลากหลายของประเภทสินค้าที่ผลิต โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารจึงมีขนาดใหญ่และซับซ้อน และด้วยกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละประเภทจะมีขั้นตอนและรายละเอียดที่แตกต่างกัน ทำให้การวิเคราะห์โครงสร้างของอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จะแบ่งตามประเภทวัตถุดิบหลัก

การที่ประเทศไทยจะขยายตลาดเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารนั้นต้องคำนึงถึงลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน ทั้งในเรื่องของการวางแผนระบบการจัดเก็บ รวมไปถึงระยะเวลาและขั้นตอนในการขนส่ง ซึ่งปัจจัยต่างๆล้วนต้องบริหารอย่างมีระบบ เนื่องด้วยปัจจุบันผู้ให้บริการด้านการจัดเก็บสินค้า ยังคงมีจำนวนน้อยและไม่เพียงพอในแต่ละบริษัท แต่ในส่วนของผู้ประกอบการยังคงอยู่ในมาตรฐานที่ดีและมีจำนวนมากพอต่อการส่งออก เนื่องจากตลาดการค้าที่ขยายใหญ่ขึ้นจำนวนผู้ประกอบการจึงขยายตาม ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภคนั่นเอง

การพัฒนาทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมทำให้มีการแข่งขันเกิดขึ้นอย่างมาก

14

ปัจจุบันประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง สังคม นโยบาย และเทคโนโลยี ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม  ต้องมีการปรับตัวพัฒนาระบบและรูปแบบในการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจ  เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภาคธุรกิจที่สำคัญได้ในระดับโลก  ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันกันในระดับที่สูง  ทุกหน่วยงานจะต้องมีการตื่นตัวตลอดและคิดค้นหาแนวทางในการที่จะปรับกิจกรรมต่างๆที่มีอยู่ให้เป็นระบบเพิ่มมากขึ้น เช่น การจัดซื้อ การผลิต การตลาด การวิจัยและพัฒนา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันในตลาดโลกและการแข่งขันในอนาคต  สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่งขัน

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  เป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่รับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาภาคธุรกิจอุตสาหกรรม  อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม  วิสาหกิจชุมชน  ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงมีแนวคิดในการนำการบริหารธุรกิจแนวใหม่มาใช้ในการพัฒนารูปแบบ เชิงวิชาการเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจในพื้นที่รับผิดชอบได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน โดยใช้ Logistics และ Supply Chain มาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจแต่ละประเภทที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานประจำปี โดยมีการประสานงานกับจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ โดยใช้งบประมาณการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ  (CEO) ดำเนินงาน

Logistics เป็นกระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเคลื่อนย้าย คน สินค้าที่นำกลับมาใช้ใหม่ วัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้า กระบวนการสั่งซื้อ การบรรจุภัณฑ์และการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า โดยอาศัยเทคโนดลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกระจายสินค้าทั้งระบบเป็นระบเดียวกัน กำหนดกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์ในส่วนของสินค้าใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดของเสีย การขนถ่ายสินค้าขากลับ การซ่อมบำรุงและการวางแผนเครือข่ายของระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนการกระจายสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าไปยังลูกค้า โดยสินค้าไปถึงสถานที่ที่กำหนดได้ทันตามเวลาที่ต้องการอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานในปริมาณที่ครบถ้วนถูกต้อง ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุดเพิ่มระดับการบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ภาครัฐเร่งผลักดัน อุตสาหกรรมยานยนต์ให้ทันต่อโลกการค้าเสรีในอนาคต

campgeiger.org

ในขณะนี้ภาครัฐได้เข้ามาส่งเสริมการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเริ่มจากการส่งเสริมการลงทุนจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศขึ้นในปี พ.ศ.2504 นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างแท้จริง โดยปกติเป็นการผลิตชิ้นส่วนเพื่อการขายอะไหล่เป็นส่วนมาก ต่อมาเมื่อโรงงานผลิตรถยนต์จึงได้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้น ทางภาครัฐได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้น เพื่อช่วยกำหนดนโยบายส่งเสริมพัฒนาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ภาคเอกชนยังรวมตัวกันเพื่อให้ข้อเสนอแนะ ในทิศทางและความเป็นไปได้ของนโยบายที่ภาครัฐได้จัดตั้งขึ้น

อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ถูกกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมการส่งออกของไทย นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 30 ปี ทำให้ปัจจุบันมีผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ OEM ที่เป็นระดับ First-Tier จำนวน 386 ราย และผู้ผลิตเหล่านี้เป็นการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น และมีผู้ผลิตชิ้นส่วน OEM ระดับ Second และ Third Tier กว่า 800 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SME ของไทย นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อการทดแทนชิ้นส่วนที่สึกหรอ เพื่อส่งให้กับร้านจำหน่ายอะไหล่ ศูนย์บริการ และอู่ซ่อมรถอีกด้วย

ในปัจจุบันการผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทย ได้ครอบคลุมไปเกือบทุกชิ้นส่วน ตั้งแต่ เครื่องยนต์ ระบบเบรก พวงมาลัย ตัวถังรถ ไปจนถึงอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า นอกจากนี้บริษัทรถยนต์หลายแห่งได้นำเอาระบบ Global มาใช้กันมากขึ้น โดยเฉพาะการสั่งชิ้นส่วนบางรายจากบริษัทผู้ผลิตในเครือข่ายที่มีโรงงานอยู่ในต่างประเทศโดยเฉพาะในเขตอาเซียนมาให้แทนชิ้นส่วนเดิมที่เคยสั่งซื้อภายในประเทศ ในขณะเดียวกันในการเปิดเสรีการค้าโลก ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทนมีแนวโน้มว่าจะเผชิญการแข่งขันจากประเทศไต้หวัน จีน และอินเดียเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านราคาและคุณภาพของสินค้า

จากการยกเลิกในการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ และการเปิดการค้าเสรีทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพราะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศอื่นๆ และต้องปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากบริษัทรถยนต์ โดยเฉพาะผู้ผลิตธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีการจัดการสูงอยู่แล้ว จึงสามารถยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ได้ แต่เชื่อได้เลยว่าในอนาคตเงื่อนไข

การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น

การที่จะพัฒนาประเทศคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะให้มีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้นและส่งผลให้ประชาชนมีงานทำ งานมีรายได้เพื่อใช้ในดำรงชีพ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นการพัฒนาประเทศจะเป็นไปอย่างมั่นคงก็จะต้องอาศัยทรัพยากรทางด้านธรรมชาติและการพัฒนาคุณภาพความสามารถของประชากรในประเทศด้วย ซึ่งในการพัฒนาด้านประชากรนั้นต้องมีทั้งการพัฒนาทางด้านของจิตใจและสติปัญญา ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาของทุกๆด้านนั้นคือสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ทั้งอุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องกัน
ในปัจจุบันนั้นการลงประกอบกิจการในด้านอุตสาหกรรมนั้นได้รับความนิยมพอสมควร เพราะให้ผลตอบแทนดีพอสมควร ซึ่งการที่มีการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมนั้นมีทั้งประโยชน์และก็โทษด้วยกัน หากมองในด้านของบวกแล้วการลงทุนด้านอุตสาหกรรมนั้นมีประโยชน์อย่างมากมาย อย่างเช่นในด้านของเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจภายในของประเทศดีขึ้นส่งผลให้ประชากรในประเทศมีรายได้มากขึ้นนอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงการพัฒนาประเทศ แต่ทว่าอุตสาหกรรมนั้นไม่ได้มีแค่เพียงประโยชน์เท่านั้น ซึ่งหากเรามองในด้านลบของการอุตสาหกรรมแล้ว อุตสาหกรรมก็มีโทษไม่น้อยไปกว่าประโยชน์ของมันเลย โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมนั้นได้รับผลกระทบอย่างมากอย่างมากจากการที่มี่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปัญหาที่ทุกๆคนรู้จัก ก็คือ ปัญหาโลกร้อน ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะโลกร้อนก็ คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งจากการที่มีโครงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนี้การที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นยังส่งผลกระทบให้ทรัพยากรทางด้านสิ่งแวดล้อมลดลงไป นี้คือตัวอย่างผลเสียของอุตสาหกรรม ซึ่งจะเห็นว่าการที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากๆก็ไม่ใช่วิธีที่ดีในการพัฒนาประเทศเพราะว่าการที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมเสียไป ส่งผลกระทบให้การพัฒนาทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจลดลงเนื่องจากการที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมเป็นผลให้เกอดมลพิษและปัญหาต่างๆตามมา แต่ทว่าปัญหาต่างเหล่านี้ไม่ใช่ว่าไม่มีทางที่จะป้องกันหรือแก้ไขเลย ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบในบริเวณรอบๆโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การทำบ่อพักนำเสียไว้เพื่อทิ้งให้ของเสียตกตะกอนเสียก่อนแล้วจึงปล่อยออกไปสู่ท่อทิ้งน้ำซึ่งจะช่วยให้น้ำที่ปล่อยออกไปนั้นไม่ก่อมลพิษต่อสาธารณชนหรือจะเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการที่ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมอย่างห่วงใยสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถทำได้โดยการที่มีการวางแผนการจัดการ การสำรวจพื้นที่และผลกระทบต่างๆที่ตามมาหากมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณนั้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดยคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ซึ่งเป็นการช่วยได้อย่างมากในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังช่วยให้ประเทศพัฒนาไปอย่างมั่นคงอีกด้วย

อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีทั้งคุณค่าและความสำคัญนอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องความสัมพันธ์กันในด้านต่างๆ ซึ่งอุตสาหกรรมนั้นมีทั้งโทษและประโยชน์ในเวลาเดียวกันแต่ทว่าโทษของอุตสาหกรรมนั้นมีมากมายพอสมควรและเป็นปัญหาที่แก้ยากพอสมควร ดังนั้นวิธีที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นมีโทษน้อยลงคงหนีไม่พ้นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมาโดย การที่นำเอาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมนั้นมีประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆและยังเป็นการปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยสิ่งแวดล้อม ผลที่ตามมา คือ ประเทศมีการพัฒนาอย่างมั่นคง หากรู้จักการใช้ทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นอย่างรู้คุณค่า

การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ต้องเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว

กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดทิศทางให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs พัฒนาสู่ความเป็นเลิศและก้าวเดินไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมปี 2555-2574 ซึ่งจะเป็นการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานสากล และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมไทยด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการแข่งขัน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้ประกอบการตระหนักและเรียนรู้การดำเนินธุรกิจแบบใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและชุมชน

กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดและวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไทยมีการเติบโตอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับกระแสโลก ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

“กระทรวงอุตสาหกรรม วางกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในอนาคตให้อยู่ภายใต้แนวความคิดของอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการ ดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งระบบเกิดความยั่งยืน โดยจะต้องคำนึงถึงการผลิตที่เกิดความสมดุลใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เติบโตพัฒนาไปพร้อมๆ กัน”

กระทรวงอุตสาหกรรมผลักดันแนวความคิดเรื่องอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังทันที หลังจากที่มีการประกาศเป็นแนวนโยบายประมาณ 3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เพราะตระหนักดีว่า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบันของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งตื่นตัวและผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม

“ในอนาคต อุตสาหกรรมไทยจะเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งจากผู้ประกอบการภายในประเทศ และการแข่งขันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโอกาสที่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในอีก 2 ปีข้างหน้า ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ เชื่อว่า อุตสาหกรรมสีเขียวจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น และอาจจะกลายเป็นเครื่องมือที่เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าสำหรับต่างประเทศอีกตัวหนึ่งด้วย”

สำหรับการอยู่ร่วมกับระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชนอย่างยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างมาก จึงเร่งผลักดันโครงการนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ และที่สำคัญเป็นไปตามเงื่อนไขของการค้าเสรี ที่เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยของเสียและมลพิษสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดความสมดุลระหว่างสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

“การผลักดันของหน่วยงานรัฐเพื่อให้ภาคการผลิตมุ่งสู่ความเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยกระทรวงอุตสาหกรรมต้องการให้การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจมีความสอดคล้องกับระบบนิเวศ ทั้งความสุข สงบของชุมชน เช่น การอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิต การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า การใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสม การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับผู้ประกอบการ”

แนวทางเพื่อการพัฒนาธุรกิจด้านอุตสาหกรรมของประเทศ

การที่จะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและโดยเฉพาะภาคเอกชนที่ต้องมีการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของภาคเอกชนเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการสะท้อนปัญหา ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อภาครัฐ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการกระจายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ

การขยายตัวในการลงทุนทางอุตสาหกรรมที่ผ่านมา

มีอัตราสูงกว่าสาขาอื่นๆ อุตสาหกรรมที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากเป็นประเภทผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ น้ำมัน ยางรถยนต์ กระดาษ เหล็กเส้น นมข้นหวาน สายไฟฟ้า กระจกแผ่นการประกอบรถยนต์และจักรยานยนต์ เป็นต้น จะมีอุตสาหกรรมที่ทดแทนการส่งวัตถุดิบออกอยู่บ้างก็เป็นจำนวนน้อย เช่น โลหะดีบุก ผลิตภัณฑ์ไม้ และเพชรพลอยเจียรนัย การขยายตัวของอุตสาหกรรมประเภทดังกล่าว เป็นผลจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนที่เอื้ออำนวยให้เกิดอุตสาหกรรมได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิประโยชน์ในทางลดหย่อนหรือได้รับการยกเว้นภาษีอากรวัตถุดิบตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

อุตสาหกรรมส่งออกหลายประเภทต้องประสบกับปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากอุปสรรคด้านการผลิตและนโยบายการให้ความคุ้มครองภายในของประเทศผู้ซื้อ มาตราการสนับสนุนการส่งออกเท่าที่มีอยู่เป็นเพียงแต่การคืนภาระภาษีที่เรียกเก็บมาแล้ว นโยบายการส่งออกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจระยะสั้นโดยไม่ได้พิจารณาผลกระทบต่อการส่งออกในระยะยาว ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าได้ให้ความสำคัญแก่สินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมากกว่าสินค้าประเภทวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ รวมทั้งประเภททุนอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า มีการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศมากกว่าการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ

นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม

(1) รัฐจะสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการผลิตอุตสาหกรรมเพื่องส่งออกให้เพิ่มมากขึ้นทั้งปริมาณและประเภทของอุตสาหกรรม โดยการปรับปรุงแก้ไขมาตรการส่งเสริมการส่งออกและจะหาทางขยายและกระจายตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น
(2) รัฐจะสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าโดยเฉพาะประเภทกึ่งวัตถุดิบ ประเภททุน และประเภทที่มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นจำนวนมาก จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ

แนวทางการการพัฒนาอุตสาหกรรม

(1) ดำเนินการส่งเสริมการส่งออก โดยใช้ระบบความช่วยเหลือทั้งในด้านการตลาดและด้านเงินอุดหนุน
(2) เร่งรัดการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกในเขตท่าเรือและสนามบินพาณิชย์
(3) ปรับปรุงโครงสร้างภาษีเพื่อช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้ากึ่งวัตถุดิบและประเภททุน
(4) ปรับปรุงแก้ไขมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้าและการผลิตเพื่อส่งออกไม่ให้มีผลในทางที่ขัดแย้งกับความเจริญและการพัฒนาอุตสาหกรรม

การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา

ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจากกระแสรายได้ที่คาดการณ์ไว้มีมูลค่ามากหรือน้อย โดยอัตราคิดลดกระแสเงินสดยิ่งมีค่ามากเท่าใดย่อมส่งผลให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิหรือมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาลดลงมากตามไปด้วย ดังนั้นภายใต้กระแสรายได้หรือกำไรสุทธิต่อปีที่เท่ากัน ถ้าใช้อัตราคิดลดกระแสเงินสดที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย สมมติว่าธุรกิจที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญานี้มีรายได้เป็นกำไรสุทธิเท่ากันทุกปี ปีละ 10 ล้านบาท โดยสมมติว่าไม่มีการคิดว่ามีการลงทุนเริ่มต้น เวลาการคิดใช้ระยะเวลาประมาณการ 5 ปี เมื่อใช้อัตราคิดลดกระแสเงินสดที่แตกต่างกัน

ในเมื่อธุรกิจด้านทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบันยังไม่มีจำนวนมากพอที่จะอ้างอิงเปรียบเทียบได้โดยตรง เพราะวิธีการหาอัตราผลตอบแทนด้วยวิธีแบบจำลองดังกล่าวเหมาะสมกับการคำนวณผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาด ซึ่งมีข้อมูลจำนวนของหลักทรัพย์หรือจำนวนธุรกิจมากเพียงพอที่จะใช้หาอัตราค่าต่างๆทางสถิติได้ มิใช่เป็นธุรกิจที่มีจำนวนน้อยและมีความแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็มักจะคล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้น คือมักจะถูกระบุไว้ก่อนว่าผลตอบแทนของตลาดคือประมาณ 15%-18%

ประเด็นของการได้มาในมูลค่าด้วยวิธีนี้จะอยู่ที่ 2 ปัจจัยหรือ 2 ตัวแปรหลักอันประกอบด้วย กระแสรายได้ที่เกิดขึ้น และอัตราคิดลดกระแสเงินสด ซึ่งปัจจัยทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่ามูลค่าทรัพย์สินทางปัญญานั้นจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใด และปัจจัยทั้งสองนี้ยังส่งผลให้เกิดข้อโต้แย้งในเรื่องของมูลค่าที่ได้หรือวิธีการได้มาของมูลค่า ทั้งจากตัวผู้ประกอบการเองหรือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินเองอีกด้วย

กระแสรายได้ที่เกิดขึ้นและอัตราคิดลดกระแสเงินสด จึงถือเป็นประเด็นสำคัญอันส่งผลให้มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่คำนวณได้มีความน่าเชื่อถือเพียงใด เพราะในบางครั้งพบว่าการกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวที่เกิดขึ้น มักมาจากพื้นฐานหรือข้อมูลที่ขาดเหตุผลรองรับอย่างถูกต้อง โดยสิ่งที่เกิดขึ้นที่พบอยู่โดยทั่วไปในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาก็คือ ประมาณการรายได้สูงเกินจริง ในขณะที่อัตราคิดกระแสเงินสดก็ใช้อัตราที่ต่ำเกินจริงเช่นกัน ส่งผลให้ราคาประเมินที่ได้ของทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว สูงกว่าความเป็นจริงหรือสามารถยอมรับได้ จนมักเกิดข้อโต้แย้งขึ้นระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานหรือสถาบันการเงินอยู่บ่อยครั้ง

ธุรกิจการบินที่สำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยและของโลก

วัฒนธรรมคือวิถีชีวิตของคนในสังคมเป็นแบบแผนในการประพฤติและแสดงออก เป็นความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆที่สมาชิกในสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ยอมรับและนำไปใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ และในความหมายเชิงปฏิบัติการวัฒนธรรมหมายถึงความเจริญงอกงามซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติจำแนกเป็นสามด้านคือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถเรียนรู้และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมเพื่อเสริมสร้างดุลยภาพระหว่างมนุษย์กับสังคมและธรรมชาติ ช่วยให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีสันติภาพ สันติสุข และเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมมนุษย์ชาติ ธุรกิจการบินมีส่วนอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนทางสังคมและทางวัฒนธรรมให้ขับเคลื่อนไปในทางที่สมเหตุสมผล และนำไปสู่ดุลยภาพของมนุษย์ที่ทำงานในธุรกิจการบินและสภาวะของสังคมรายรอบ

– การเพิ่มของประชากรชนิดถาวร โดยธุรกิจการบินก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในระดับต่างๆ โดยที่มาของแรงงานที่จะเข้าสู่ธุรกิจการบินนั้นก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของประชากรทั้งในรูปแบบของครัวเรือนมูลฐานในท้องถิ่นนั้น และปริมาณการเพิ่มของประชากรที่ย้ายเข้ามาเพื่อประกอบอาชีพในธุรกิจการบินในแต่ละภูมิภาค เช่นการย้ายถิ่นฐานเข้ามาเพื่อทำงานในโรงงานผลิตเครื่องบินแอร์บัสที่เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นแหล่งรวมของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เป็นต้น

– การเพิ่มของประชากรชนิดบางช่วงเวลา โดยในบางฤดูกาลเช่นฤดูที่มีจำนวนนักเดินทางเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณแรงงานหลั่งไหลเข้ามายังธุรกิจการบิน โดยเฉพาะภูมิภาคใดที่มีการขยายตัวของธุรกิจการบินมาก แรงงานประเภทต่างๆก็จะเพิ่มขึ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตามความต้องการต้องการแรงงานในธุรกิจนี้สามารถรองรับได้เป็นจำนวนจำกัด เนื่องจากธุรกิจการบินต้องการแรงงานเฉพาะด้านที่มีความรู้ในด้านการบินมาก แต่ปริมาณประชากรเพิ่มมากขึ้นก็มิอาจจะตอบสนองความต้องการได้ ข้อดีของประชากรประเภทนี้คือในกรณีที่ธุรกิจขาดแรงงานก็สามารถจ้างแรงงานเหล่านี้เข้าทำงานได้ แต่ข้อเสียคือหากเกิดภาวะแรงงานในท้องถิ่นมีมากเกินไปก็อาจเกิดภาวการณ์ว่างงานมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

– ปริมาณการเพิ่มครัวเรือน ซึ่งแต่ละบุคคลย่อมอยากมีเคหะสถานในการพำนักอยู่ใกล้ที่ทำงาน ดังนั้นเราจะสามารถเห็นการขยายของชุมชนในบริเวณรายรอบสนามบิน ข้อดีของปริมาณการเพิ่มครัวเรือน ในข้อดีอาจทำให้เกิดการมีการพัฒนาในด้านต่างๆเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น เช่นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน และในทางกลับกันอาจก่อให้เกิดปัญหาภาวะความแออัดของชุมชน ทำให้เกิดปัญหาด้นคุณภาพชีวิตและสภาพความเป็นอยู่

– ความเปลี่ยนแปลงด้านการแพร่กระจายของประชากร การขยายตัวของธุรกิจการบินย่อมเกิดความขยายตัวของภาคแรงงานตามขึ้นมา โดยการอพยพเข้ามาทำงานนั้นทำให้อัตราของประชากรในช่วงวัยต่างๆมีเป็นจำนวนไม่เท่ากัน กล่าวคือในบริเวณรายรอบธุรกิจการบินทำให้มีประชากรในวัยแรงงานมาก และจำนวนของเด็ก วัยรุ่น วัยชรา นั้นมีอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดภาวะที่ไม่สมดุล และยังสามารถจะเกิดความไม่สมดุลในด้านเพศ (ชายมากกว่าหญิง หรือหญิงมากกว่าชาย) ด้านเชื้อชาติ และชาติพันธุ์

– การเปลี่ยนแปลงทางประชากรสู่ความเป็นเมืองใหญ่ เมื่อมีการกระจุกตัวของประชากรรายล้อมธุรกิจการบินทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรจากประชากรที่เป็นชุมชนหรือสังคมเล็กๆสู่ชุมชนเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเชิงบวกคือการขยายเมืองสู่ความทันสมัย แต่ในทางกลับกันในเชิงลบก็ยังสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เหมือนอย่างที่ในเมืองใหญ่ๆ หลายเมืองประสบอยู่ทุกวันนี้