อุตสาหกรรมอาหาร
กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นฐานด้านการผลิตทางการเกษตรที่มั่นคงและมั่งคั่ง ทำให้มีผลผลิตที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปได้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของผู้ซื้อได้รวดเร็วและสามารถนำวัตถุดิบจากต่างประเทศมาแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่ม นอกจากนั้นผู้ประกอบการยังมีความพร้อมในด้านการจัดการกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพ มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์
ภาพรวมของการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประเทศไทยก็มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ เนื่องจากหลายปัจจัย อาทิ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศที่อยู่กึ่งกลางภูมิภาค และมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าทุกประเทศใน AEC ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ คุณภาพของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับการยอมรับในการซื้อขายในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่อาจทำให้ไทยไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่หรือเสียโอกาส คือ ขาดความรู้และความตระหนักถึงความสำคัญ ผลกระทบ และความจำเป็นในการเตรียมความพร้อม อุปสรรคอีกประการหนึ่งคือ ต้นทุนการทำธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น
สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยจำนวนมาก เนื่องจากมีศักยภาพในด้านของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศในการเพาะปลูก ทำให้มีวัตถุดิบจำนวนมากสำหรับการนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรม จนสามารถส่งออกสินค้าอาหารได้ปีละหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมอีกจำนวนมากที่แปรรูปสินค้าเพื่อจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งมีความหลากหลายของประเภทสินค้าที่ผลิต โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารจึงมีขนาดใหญ่และซับซ้อน และด้วยกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละประเภทจะมีขั้นตอนและรายละเอียดที่แตกต่างกัน ทำให้การวิเคราะห์โครงสร้างของอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จะแบ่งตามประเภทวัตถุดิบหลัก
การที่ประเทศไทยจะขยายตลาดเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารนั้นต้องคำนึงถึงลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน ทั้งในเรื่องของการวางแผนระบบการจัดเก็บ รวมไปถึงระยะเวลาและขั้นตอนในการขนส่ง ซึ่งปัจจัยต่างๆล้วนต้องบริหารอย่างมีระบบ เนื่องด้วยปัจจุบันผู้ให้บริการด้านการจัดเก็บสินค้า ยังคงมีจำนวนน้อยและไม่เพียงพอในแต่ละบริษัท แต่ในส่วนของผู้ประกอบการยังคงอยู่ในมาตรฐานที่ดีและมีจำนวนมากพอต่อการส่งออก เนื่องจากตลาดการค้าที่ขยายใหญ่ขึ้นจำนวนผู้ประกอบการจึงขยายตาม ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภคนั่นเอง