Monthly Archives: June 2015

การพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย

การพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย
ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยสัดส่วนมูลค่า ผลผลิตอุตสาหกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่อมูลค่าการ ส่งออกรวม มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยี ระดับกลางและสูง อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการพึ่งพาการนําเข้า ชิ้นส่วน องค์ประกอบ ทุนและเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ยังต้องอาศัยความได้เปรียบโดย เปรียบเทียบจากขั้นตอนการใช้แรงงานไร้ฝีมือค่าแรงต่ําและทุนเป็นหลัก

การพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย เป็นไปในลักษณะของการเพิ่มมูลค่า (Value Added) ใน กระบวนการผลิตมากกว่าการสร้างคุณค่า (Value Creation) ความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศไทยเพื่อนําไปสู่การสร้างคุณค่ายังมีน้อยมาก เนื่องจากขาดการสั่งสมองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ภายในให้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้มา (Endogenous Efforts) ขาดการยกระดับห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) รวมถึงขาดการประสานความร่วมมือกัน (Synergy) ด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้และเทคโนโลยี ดังนั้น ประเทศไทยจึงจําเป็นต้องมีการปรับตัว จากการแข่งขันที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือค่าแรงต่ําและทุนเป็นหลัก เป็นการสร้าง คุณค่า ด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับความท้าทาย ความเสี่ยง โอกาส และอุปสรรคที่เกิดขึ้น และเพื่อเป็นการยกระดับการสร้างความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันระดับ โลกต่อไป

การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอดีต เป็นการมุ่งพัฒนาไปที่คลัสเตอร์อุตสาหกรรม เชิงเศรษฐกิจ คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ที่ใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งในเชิงเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม พบว่าสังคมไทยโดยรวมยังคงเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ํา ทางสังคม รวมถึงขาดการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาประเทศอย่างไม่ สมดุล อาจกล่าวได้ว่า การมุ่งเน้นการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในเชิงเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ไม่สามารถ ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้จึงจําเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น โดยเร่งพัฒนาและยกระดับคลัส เตอร์อุตสาหกรรมในมิติอื่นๆ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ อันประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมในมิติเชิงอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมในมิติเชิงพัฒนาสังคม และอุตสาหกรรมในมิติเชิงพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เพื่อสร้างการ พัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ และเนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งสี่ส่วนนี้มี ความเชื่อมโยง และเกื้อหนุนกัน ดังนั้นการพัฒนาจําเป็นท่ีจะต้องบูรณาการให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมใน ภาพรวม โดยจัดลําดับความสําคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมในมิติต่างๆ ที่นอกเหนือจากคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ในมิติเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศที่มีความสมดุลเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมทั้ง 4 มิติและเชื่อมโยงเข้ากับการพัฒนาในมิติอื่นๆ ของประเทศ อันจะนําไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม ของประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวจําเป็นจะต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ