เฟอร์นิเจอร์กลายเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สามารถรายได้เข้าประเทศได้ในแต่ละปี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตที่มุ่งเน้นการออกแบบและเจาะกลุ่มตลาดสินค้าเฉพาะ ไม่เน้นการผลิตสินค้าจำนวนมาก แต่เน้นสินค้าที่มีเอกลักษณ์และมูลค่าเพิ่มสูง อย่างไรก็ดีแนวโน้มของการแข่งขันในตลาดเฟอร์นิเจอร์ต่อไปในอนาคตจำเป็นต้องมุ่งสู่การออกแบบและเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเป็นหลัก เพราะความได้เปรียบการแข่งขันในเรื่องของต้นทุนการผลิตของไทยจะลดลงเมื่อเทียบกับจีนและเวียดนาม เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเฟอร์นิเจอร์ได้ ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการผสมผสานวัฒนธรรมของหลายชาติหลอมรวมเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างได้รับการยอมรับจากต่างชาติ ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เชิงสร้างสรรค์ของไทยจึงควรจะอาศัยศักยภาพในด้านการออกแบบที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวเอเชียและนำเสนอสินค้าในรูปแบบที่มีความเป็นสากล
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยเข้มแข็งนัก ต้องการการสนับสนุนและช่วยเหลือจากภาครัฐและสถาบันการเงินอยู่เป็นทุนเดิม ซึ่งที่ผ่านมาได้พยายามปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ได้เข้มแข็งนัก แต่เมื่อมีปัญหามาช้ำเติมเข้าไปอีกเชื่อผู้ประกอบการเหล่านี้คงไปไม่รอด ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลคำนึงถึงต้นทุนของอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อนที่จะออกมาตรการใดๆออกมา และการปรับขึ้นนั้นจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบขั้นบันใด เพื่อให้อุตสาหกรรมมีเวลาในการปรับตัวเพื่อรับมือ ซึ่งในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการผลิตเฟอร์นิเจอร์ล้วนมีความสำคัญและสามารถพัฒนาเพื่อให้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับสินค้าได้ โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของทุนมนุษย์ที่มีและปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ที่เหมาะสม
โครงสร้างหลักของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
1.วัตถุดิบมีความหลากหลายในการนำมาใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ทั้งที่เป็นวัสดุทั่วไปที่ใช้ในการผลิต เช่น ไม้ เหล็ก พลาสติก เป็นต้น หรือวัสดุใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์สร้างสรรค์
2.การแปรรูปวัตถุดิบจะเป็นการนำเอาวัตถุดิบตั้งต้นมาแปรรูปให้เหมาะสมสำหรับการนำไปประกอบหรือขึ้นรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์
3.การผลิตสินค้าสำเร็จรูปเป็นการนำเอาวัสดุและชิ้นส่วนประกอบต่างๆมาประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งสำเร็จให้มีความสวยงาม